วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประวัติวัดเขาพระพุทธบาทบางทราย

                                                              วัดเขาพระพุทธบาทบางทราย


ดิฉันเป็นคนชลบุรีตั้งแต่เกิดและชาวบางทรายเป็นที่รู้จักกันดีของคนชลบุรีหรือคนบางทรายที่อาศัยหรือเกิดอยู่ที่นี่เพราะทุกปีที่สถานที่แห่งนี้ก็จะมีงานซึ่งเป็นประเพณีประจำเป็นทุกปีคือ การตักบาตรเทโวก็จะตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ คือหลังจากวันออกพรรษา แล้ว ๑ วัน  คำว่า "เทโว" ย่อมาจาก "เทโวโรหณะ" แปลว่าการเสด็จลงจากเทวโลก การตักบาตรเทโว จึงเป็นการระลึกถึงวันที่พระพุทธองค์ เสด็จกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาในเทวโลก โดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา ๑ พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสคร ในครั้นนั้นบรรดาพุทธศานนิกชนผู้ที่มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

วัดเขาบางทราย  เป็นพระอารามหลวงเดิมเรียกว่า วัดเขาพระบาทบางทราย ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศเหนือประมาณ ๒ กิโลเมตร กล่าวกันว่าพระมหากษัตริย์ผู้ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นผู้สร้างขึ้น ในระหว่างปี พ.ศ.๒๒๔๙ - ๒๒๗๕            วัดเขาบางทรายเป็นพระอารามหลวงที่ใหญ่ที่สุด วัดนี้เคยเจริญรุ่งเรืองอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วกลายเป็นวัดร้างจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระยาบรมมหาประยูรงวศ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาพระคลัง ที่สมุหกลาโหม ยกทัพไปปราบอั้งยี่ที่วัดคงคาลัย ตำบลบางทราย อำเภอเมือง ฯ หลังจากปราบอั้งยี่ลงได้แล้ว เจ้าพระยาพระคลังได้มีบัญชาสั่งให้ปลัดทัพสถาปนาวัดเขาบางทรายขึ้นมาใหม่ ในปี พ.ศ.๒๓๙๐ ต่อมาวัดนี้ได้รับการบูรณะอีกครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระยาวิชิตชลเขต ผู้กำกับราชการเมืองชลบุรีกับพระราชาคณะหลายรูป            ศาสนสถานที่ได้รับการบูรณะปฎิสังขรณ์ ได้แก่ มณฑปพระพุทธบาท เจดีย์ วิหาร ตึกพำนักเจริญภาวนาและบ่อน้ำ เป็นต้น            ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชอยู่ พระองค์ได้เสด็จธุดงค์ไปนมัสการพระพุทธบาท และเสด็จเยี่ยมเจ้าอาวาสวัดเขาบางทราย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๗            ทางราชการเคยใช่วัดเขาบางทรายเป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา                - พระมณฑป  สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง สร้างในสมัยใดไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด ได้รับการปฎิสังขรณ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้เาเจ้าอยู่หัว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว                - หอระฆัง  เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมสองชั้น ก่ออิฐถือปูน ชั้นล่างเป็นระเบียงล้อมรอบ มีบันไดขึ้นไปชั้นสอง ระเบียงชั้นล่างและชั้นบนกรุด้วยกระเบื้องปรุทั้งหมด ตามคตินิยมของสถาปัตยกรรมไทยแบบพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว                - ศาลาราย (ศาลาเก้าห้อง)  เป็นศาลาโถงทรงค่อนข้างเตี้ย ระหว่างช่องเสาทำเป็นซุ้มโค้ง ได้รับการปฎิสังขรณ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่รูปทรงยังคงเป็นแบบเดิมตามลักษณะของสถาปัตยกรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างอิทธิพลของสถาปัตยกรรมไทย จีน และตะวันตก

7 ความคิดเห็น: